สั่งของบิ๊กซีออนไลน์
Order status

Log in

or Register

Get started with Big Point

เลือกยาแก้แพ้ผิด ชีวิตเปลี่ยน

เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย หลายคนมักเผชิญกับปัญหาภูมิแพ้ที่มาขัดขวางความสุขในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอาการจาม คันจมูก น้ำมูกไหล หรือผื่นคัน สิ่งที่คนส่วนใหญ่เลือกทำเพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้คือการใช้ยาแก้แพ้ แต่คุณเคยสังเกตไหมว่า บางครั้งยาแก้แพ้ที่คุณเลือกอาจทำให้คุณรู้สึกง่วงซึมและอ่อนล้า ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ นั่นเป็นเพราะยาแก้แพ้บางชนิดมีผลข้างเคียงต่อสมองโดยตรง ทำให้เกิดอาการง่วงซึม สมาธิและการจดจำลดลงได้

ยาแก้แพ้รุ่นเก่ามีผลเสียต่อสมอง

ยาแก้แพ้รุ่นเก่า เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) และไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) มีผลข้างเคียงที่ตัวยาสามารถผ่านเข้าสมองได้ ทำให้เกิดอาการง่วงซึมและส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้สึกอ่อนล้า แต่ยังส่งผลต่อความจำ สมาธิ การขับขี่ยานพาหนะ และการตัดสินใจ การศึกษาในบทความจาก Kay(2000)1 พบว่าการใช้ยาแก้แพ้รุ่นเก่ามีผลกระทบต่อสมอง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อม (Cognitive Impairment) ดังนั้นการเลือกใช้ยาแก้แพ้ที่มีคุณสมบัติตัวยาไม่ผ่านเข้าสมอง ไม่ส่งผลเสียต่อสมอง จึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า

ยาแก้แพ้รุ่นใหม่ ไม่ทำให้ชีวิตสะดุด

ตัวเลือกยาแก้แพ้ที่มีการใช้ในปัจจุบัน เช่น ไบแลสทีน (BILASTINE) เดสลอราทาดีน (DESLORATADINE) ลีโวเซทริซีน (LEVOCETIRIZINE) เป็นต้น ซึ่งยาไบแลสทีน (BILASTINE) เป็นยาแก้แพ้รุ่นใหม่ที่ไม่เข้าสมอง และมีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการแพ้ ไม่ว่าจะเป็นอาการคัดจมูก คันจมูก น้ำมูกไหล หรือผื่นคัน สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โดยไม่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม

จะเลือกยาแก้แพ้ให้ดีต้องทำอย่างไร?

หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกยาแก้แพ้แบบไหนที่เหมาะกับตัวเอง ขอแนะนำให้ปรึกษาเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ หรือหากคุณต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น สามารถขอคำแนะนำผ่านแอปพลิเคชัน Pure Pharma ได้ฟรี! จะมีเภสัชกรคอยให้คำปรึกษาแบบเรียลไทม์ ให้คุณมั่นใจได้ว่าเลือกยาแก้แพ้ที่เหมาะกับตัวเองได้จริง ๆ อย่าปล่อยให้อาการแพ้มากวนใจ ลุกขึ้นมาเลือกยาแก้แพ้ที่ใช่ แล้วออกไปสนุกกับทุกช่วงเวลาในชีวิตของคุณกันเถอะ!

TH-BIX-092024-225

อ้างอิงข้อมูล :

  1. Kay, G. G. (2000). The effects of antihistamines on cognition and performance. Journal of Allergy and Clinical Immunology, 105(6), S622-S627.
  2. โรงพยาบาลเปาโลรังสิต. (2022, มีนาคม 16). ยาแก้แพ้: เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อมได้ไม่รู้ตัว. Paolo Hospital. https://www.paolohospital.com/th-TH/rangsit/Article/Details/ยาแก้แพ้-เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อมได้ไม่รู้ตัว
  3. PPTV Online. (2022, กันยายน 23). ทานยาแก้แพ้ในกลุ่มรุ่นเก่า เสี่ยงโรคสมองเสื่อม!!.PPTVHD36. https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/174452
  4. HDmall. (n.d.). ยาแก้แพ้ ยี่ห้อไหนดี? รักษาอาการแพ้แบบไหนได้บ้าง?. HDmall.co.th. https://hdmall.co.th/c/which-anti-allergic-drugs-are-good