รู้ให้ทัน เมากัญชาแก้อย่างไร พร้อมแนะวิธีดูแลตัวเอง

Big C > ไลฟ์สไตล์ฟอร์ยู > รู้ให้ทัน เมากัญชาแก้อย่างไร พร้อมแนะวิธีดูแลตัวเอง

หลังจากที่ประเทศไทยได้ปลดล็อกการใช้กัญชากันไปในวันที่ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมา เราก็ได้เห็นข่าวและกระแสมากมายเกี่ยวกับกัญชา เพราะมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้นำไปใช้ทางการแพทย์ จึงมีผลกระทบจากการใช้กัญชาที่ไม่ถูกวิธีออกมาเห็นอยู่เรื่อย ๆ ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าหากเกิดอาการ เมากัญชา ควรทำอย่างไรได้ดี

ทำความรู้จักกัญชา

กัญชา (cannabis) เป็นพืชล้มลุกที่มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานมากกว่า 4,000 ปี จากบันทึกโบราณคดีพบว่า จีนเป็นประเทศแรกที่มีการใช้ประโยชน์จากกัญชา จนในปี พ.ศ. 2441 นักวิจัยสามารถสกัดสารสำคัญในกัญชาได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นั่นก็คือสาร “cannabinol” ซึ่งเราสามารถสารเหล่านั้นจากส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอก เมล็ด และลำต้น เราจะเรียกสาระสำคัญที่พบในกัญชารวม ๆ ว่า “cannabinoids”

อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้กัญชา

จากเดิมกัญชาจัดว่าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 แต่ภายหลังการปลดล็อกกัญชาที่จะสามารถปลูกและใช้กันอย่างเสรี แม้ว่ากัญชาจะมีวรรพคุณทางยาตามทางการแพทย์แผนไทย แต่ความเสียหายของกัญชาก็มีมากเช่นกัน แน่นอนว่าการตอบสนองของร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับกัญชา แต่ละคนก็จะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป เช่น การเคลื่อนไหว การตอบสนองทางอารมณ์ ความไวต่อความปวด การเรียนรู้และการจดจำ

ในร่างกายจะมีระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (Endocannabidoid System) มีหน้าที่ในการรักษาความสมดุลของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ โดยการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยจะมีตัวรับสารแคนนาบินอยด์ที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด ได้แก่

  • CB1 : จะพบอยู่ในสมองและระบบประสาทส่วนกลาง เนื้อเยื่อ และอวัยวะบางส่วน เช่น ปอด ตับ ไต
  • CB2 : ส่วนใหญ่พบได้ในเซลล์บางชนิดของระบบภูมิคุ้มกัน ระบบทางเดินอาหาร และอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ม้ามและต่อมทอนซิล

อาการผิดปกติที่พบได้บ่อย

  • ง่วงนอนมากกว่าปกติ
  • ปากแห้ง คอแห้ง
  • วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • สับสนวิตกกังวล ตกใจง่าย

ภาวะพิษเฉียบพลัน

ภาวะพิษเฉียบพลันสามารถเกิดได้ในผู้ใช้กัญชาเป็นประจำแต่ใช้ในปริมาณที่มาก ซึ่งจะมีอาการต่าง ๆ ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง กล้ามเนื้ออ่อนแรง มือสั่น เฉื่อยชาง่วงซึม ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนอิริยาบถ ไม่มีสมาธิ พูดไม่ชัด สติสัมปชัญญะลดลง กระสับกระส่าย ชัก วิตกกังวล ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก  -เหงื่อแตก ตัวสั่น เป็นลมหมดสติ ก้าวร้าวและไตวายเฉียบพลัน นอกจากนี้มีรายงานการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

วิธีแก้อาการ เมากัญชา หรืออาการข้างเคียงเบื้องต้น

  1. ปากคอแห้ง : ให้ดื่มน้ำเปล่าตามในปริมาณที่มาก ๆ
  2. แก้เมา : สามารถใช้ได้ทั้งวิธีบีบน้ำมะนาวครึ่งลูกผสมเกลือในปริมาณเท่าปลายช้อน หรือใช้วิธีเคี้ยว

พริกไทยก็สามารถทำได้เช่นกัน

  • วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน : ดื่มชาชงขิงหรือน้ำชิงก็ช่วยได้
  • อาบน้ำอุ่นหรือทาเจลพริก : เนื่องจากพริกมีสารสำคัญ คือ capsaicin ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกแสบร้อน

เพื่อทำให้หลอดเลือดบริเวณผิวหนังขยายตัว และทำให้เกิดผลในการบรรเทาอาการคลื่นไส้

  • หยุดใช้กัญชา : ถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด และอาการสามารถดีขึ้นได้ภายใน 2-3 สัปดาห์
  • หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์และไม่ควรปิดบังสาเหตุที่มาพบ

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว หากใครคิดจะใช้กัญชา ก็ควรรู้จักที่จะสังเกตอาการของตัวเอง ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ เพื่อเลี่ยงอาการแพ้หรือเมาที่สามารถรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แม้ว่ากัญชาจะมีประโยชน์ทางยามากมาย แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หากใช้ไม่ถูกต้องก็สามารถกลายเป็นโทษที่ส่งผลเสียต่อร่างกายของเราเช่นกัน

ติดตามข้อมูลข่าวสาร โปรโมชั่นพิเศษ ได้ที่

Facebook : Big C

Line Official : Big C TH

บทความที่นาสนใจ : Big C Blog

บิ๊กซี ออนไลน์ : Big C Shopping Online

แชร์เรื่องราว